หน้าเว็บ

การทำสงครามในสมัย

สงครามเก้าทัพ เป็นสงครามระหว่างอาณาจักรพม่ากับอาณาจักรไทย หลังจากที่พระบาท
สมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชได้สถาปนากรุงรัตนโกสินทร์ เป็นราชธานีแห่งใหม่ เวลานั้นบ้านเมืองอยู่ในช่วงผ่านศึกสงครามมาใหม่ ๆ ประจวบทั้งการสร้างบ้านแปลงเมือง รวมทั้งปราสาทราชวังต่าง ๆ ในปี พ.ศ. 2328 พระเจ้าปดุง กษัตริย์พม่า หลังจากบรมราชาภิเษกขึ้นเป็นกษัตริย์อังวะแล้ว ต้องการประกาศแสนยานุภาพ เผยแผ่อิทธิพล โดยได้ทำสงครามรวบรวมเมืองเล็กเมืองน้อยรวมถึงเมืองประเทศราชให้เป็นปึกแผ่น แล้วก็ได้ยกกองกำลังเข้ามาตีไทย โดยมีจุดประสงค์ทำสงครามเพื่อทำลายกรุงรัตนโกสินทร์ให้พินาศย่อยยับเหมือนเช่นกรุงศรีอยุธยา [53] สงครามครั้งนี้พระเจ้าปดุงได้ยกทัพมาถึง ทัพ รวมกำลังพลมากถึง 144,000 นาย เวลานั้นทางฝ่ายไทย พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกรวบรวมกำลังไพล่พลได้เพียง 70,000 นาย จัดกองทัพออกเป็น ทัพโดยให้รับศึกทางที่สำคัญก่อน แล้วค่อยผลัดตีทัพที่เหลือ

 อำนามสยามยุทธ เกิดขึ้นระหว่างไทยกับเวียดนามเพื่อแย่งชิงกัมพูชาในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นสงครามกับพม่าที่เมืองถลาง ในสมัยรัชกาลที่ 2 ไทยรบพม่าที่เมืองเชียงตุง เป็นสงครามครั้งสุดท้ายระหว่างไทย-พม่า ในสมัยรัชกาลที่ 4 พ.ศ. 2396
       สงครามปราบฮ่อ เกิดขึ้นในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ในปีพ.ศ. 2394 ฮ่อ หรือกองกำลังชาวจีน ที่ต่อต้านราชวงศ์แมนจู ได้ก่อการกบฏโดยเรียกกลุ่มตัวเองว่า กบฏไท้ผิง เพื่อปลดปล่อยตนเองออกจากการปกครองของราชวงศ์แมนจูที่เป็นใหญ่ยึดครองประเทศจีนอยู่ในขณะนั้น จนเกิดการรบพุ่งกันเป็นการใหญ่ เมื่อปี พ.ศ. 2405 พวกไท้ผิงพ่ายแพ้ต้องหลบหนีไปซุ่มซ่อนตัวตามป่าเขาในมณฑลต่าง ๆ ของจีน ทั้งในมณฑลยูนนาน ฮกเอี้ยน กวางไส กวางตุ้ง เสฉวน และส่วนหนึ่งหลบหนีมายังตังเกี๋ย ทางตั้งเกี๋ยจึงดำเนินการปราบปรามทำให้พวกฮ่อต้องหนีมาอยู่ที่เมืองซันเทียน เมื่อปี พ.ศ. 2408 ในสมัยรัชกาลที่ 4 ขณะนั้นพวกฮ่อภายใต้การนำของ "ปวงนันชี" ซึ่งใช้ธงสีเหลืองเป็นสัญลักษณ์ ได้ซ่องสุมกำลังที่ทุ่งไหหิน และได้ประพฤติตนเป็นโจรเที่ยวปล้นบ้านเมืองในดินแดนสิบสองจุไทและเมืองพวน ซึ่งขณะนั้นถือเป็นอาณาเขตของฝ่ายไทย




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น