การปกครองของไทยสมัยรัตนโกสินทร์
ตั้งแต่รัชกาลที่ 1-4 มีระเบียบแบบแผนตามแบบสมัยอยุธยา พระมหากษัตริย์มีอำนาจสูงสุดและเด็ดขาดในการปกครองประเทศ แบ่งออกเป็น 3 ส่วน คือ
- การปกครองส่วนกลาง มีอัครมหาเสนาบดี 2 ตำแหน่ง คือ สมุหกลาโหมเป็นหัวหน้าฝ่ายทหาร รับผิดชอบกิจการด้านการทหารทั่วประเทศและปกครองหัวเมืองฝ่ายใต้ ส่วนสมุหนายกเป็นหัวหน้าฝ่ายพลเรือน รับผิดชอบกิจการด้านพลเรือนทั้งหมดและปกครองหัวเมืองเหนือ ส่วนหัวเมืองชายทะเลด้านฝั่งตะวันออก พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชทรงจัดให้อยู่ในความดูแลของกรมท่า นอกจากตำแหน่งอัครมหาเสนาบดีทั้ง 2 นี้แล้ว ยังมีเสนาบดีจตุสดมภ์ คือ เสนาบดีกรมเมืองหรือกรมเวียง เรียกว่า “พระนครบาล” เสนาบดีกรมวัง เรียกว่า “พระธรรมาธิกรณ์” เสนาบดีกรมคลัง เรียกว่า “พระโกษาธิบดี” เสนาบดีกรมนา เรียกวา “พระเกษตราธิบดี” จตุสดมภ์ทั้ง 4 อยู่ภายใต้การดูแลของสมุหนายก มีหน้าที่และความรับผิดชอบในเรื่องต่างๆ เหมือนครั้งสมัยอยุธยาเว้นแต่กรมคลังที่มีหน้าที่ติดต่อกับต่างประเทศอีกด้วย
- การปกครองส่วนภูมิภาค แบ่งเขตการปกครองออกเป็น หัวเมือง 3 ประเภท ได้แก่หัวเมืองชั้นใน หรือเมืองจัตวา ซึ่งเป็นเมืองเล็กๆ ที่อยู่บริเวณรอบๆ เมืองหลวง หัวเมืองชั้นนอก ได้แก่ เมืองพระยามหานครา เมืองเอก โท ตรี ซึ่งอยู่ห่างไกลจากราชธานีออกไป เจ้าเมืองมีอำนาจในการปกครองเมืองอย่างเต็มที่ เพราะอยู่ไกจากราชธานี ส่วนเมืองประเทศราช พระมหากษัตริย์จะแต่งตั้งเจ้าประเทศราชให้ปกครองตนเอง แต่ต้องส่งเครื่องราชบรรณาการให้เมืองหลวง 3 ปีต่อ 1 ครั้ง หรือถ้าเป็นเมืองที่อยู่ใกล้ราชธานี เช่น อุบลราชธานี เขมร ไทยบุรี เชียงใหม่ หลวงพระบาง ต้องส่งปีละครั้ง เมื่อเกิดศึกสงคราม เมืองประเทศราชเหล่านี้ต้องส่งทหารมาช่วยรบทันที หรือในยามปกติอาจเกณฑ์ชาวเมืองประเทศราชมาช่วยให้แรงงานในการปรับปรุงประเทศ
- การปกครองส่วนท้องถิ่น แบ่งออกเป็น บ้าน ตำบล และแขวงตามลำดับ ซึ่งอาจเทียบได้กับ หมู่บ้าน ตำบล และอำเภอ ในปัจจุบันhttps://sites.google.com/site/krungratnkosinthr/smay-ratnkosinthr-txn-klang
การเมืองการปกครองในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนกลาง
เป็นช่วงเวลาปรับปรุงเปลี่ยนแปลงประเทศให้เข้าสู่ความทัน สมัย โดยรับอิทธิพลอารยธรรมตะวันตก เนื่องจากถูกคุกคามจากลัทธิจักรวรรดินิยมของชาติตะวันตก เป็นสมัยที่ประเทศ ไทยพัฒนาการเข้าสู่ความเป็นรัฐชาติ สมัยนี้เป็นสมัยแห่งการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงทั้งทางด้านการเมือง การปกครอง เศรษฐกิจ สังคม ศิลปวัฒนธรรม การเปลี่ยนแปลงที่สำคัญในสมัยนี้ คือ การเลิกทาสและการเปลี่ยนแปลงการปกครอง
รัชกาลที่ 4 ทรงพิจารณาว่าประเพณีบางอย่างที่เคยปฏิบัติกันมาแต่เดิม เป็นประเพณีที่ล้าสมัย จึงโปรดให้ยกเลิกประเพณีดังกล่าว เช่น ห้ามราษฎรเข้าใกล้ชิดรวมทั้งมีการยิงกระสุนเวลาเสด็จพระราชดำเนินและบังคับให้ราษฎรปิดประตูหน้าต่างบ้านเรือน ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 5 เมื่อพระองค์ทรงบรรลุนิติภาวะใน พ.ศ.2416 และทรงว่าราชการด้วยพระองค์เอง จึงทรงเริ่มปรับปรุงการปกครองซึ่งเรียกว่า "การปฏิรูปการปกครอง" แบ่งเป็น 2 ระยะ คือ ตอนต้นรัชกาล และตอนปลายรัชกาล
ทรงตั้งสภาที่ปรึกษาราชการแผ่นดิน มีหน้าที่ในการออกกฎหมายและยกเลิกกฎหมาย รวมทั้งยกเลิกประเพณีโบราณต่างๆ ที่เห็นว่าไม่เหมาะสม ปรากฏว่าสภาทั้ง 2 ดำเนินงานไปได้ไม่นาน ก็ต้องหยุดชะงักเพราะเกิดเหตุการณ์ร้ายแรงที่เรียกว่า " วิกฤตการณ์วังหน้า " เป็นความขัดแย้งระหว่างพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว กับ กรมพระราชวังบวรวิชัยชาญ ซึ่งดำรงตำแหน่งวังหน้า อันเนื่องมาจาก ความหวาดระแวงซึ่งกันและกันจนเกือบจะมีการประทะกันระหว่างกัน ขึ้นในปลาย พ.ศ.2417 แต่ก็สามารถยุติลงได้ การปฏิรูปการปกครองในช่วงหลัง
การเมืองการปกครองตอนปลาย
1. สมัยรัชกาลที่ 7
1.1 สมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงตั้งที่ปรึกษาราชการแผ่นดินขึ้น 5 สภา คือ
1) อภิรัฐมนตรีสภา เป็นสภาที่ปรึกษาราชกากรแผ่นดิน ประกอบด้วยพระบรมวงศานุวงศ์ชั้นผู้ใหญ่ ซึ่งทรงพระปรีชาสามารถและมีความชำนาญในงานราชการมาแต่ก่อน 5 พระองค์ ได้แก่ สมเด็จฯเจ้ากรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช สมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมาพระนครสวรรค์วรพินิต สมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ สมเด็จฯ กรมพระยาดำราราชานุภาพ สมเด็จฯ กรมพระจันทบุรีนฤนาถ
2) องคมนตรีสภา ช่วยทำหน้าที่บริหารประเทศ คล้ายกับรัฐสภาในปัจจุบัน สมาชิกประกอบด้วยผู้ทรงคุณวุฒิ มีความสามารถเป็นที่ไว้วางพระราชหฤทัย ทำหน้าที่เสนอความคิดเห็นในเรื่องราชการแผ่นดิน วินิจฉัยเรื่องต่างๆ ที่ทรงปรึกษา
3) เสนาบดีสภา ประกอบด้วยเสนาบดีประจำกระทรวง ทำหน้าที่ให้คำปรึกษาหารือเกี่ยวกับราชการกระทรวงต่างๆ
4) สภาป้องกันพระราชอาณาจักร ทำหน้าที่ในการติดต่อประสารงานกับกระทรวงต่างๆ คือ กระทรวงกลาโหม ทหารเรือ ต่างประเทศ มหาดไทย และพาณิชย์ เพื่อป้องกันประเทศ
5) สภาการคลัง มีหน้าตรวจตรางบประมาณแผ่นดิน และรักษาผลประโยชน์การเงินของประเทศ
1.2 การจัดการปกครอง มีการจัดการปกครอง ดังนี้
1) การปกครองส่วนกลาง เนื่องจากในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ฐานะทางการเงินภายในประเทศตกต่ำอันเป็นผลมาจากเกิดภาวะเศรษฐกิจตกต่ำทั่วโลก รัชกาลที่ 7 จึงทรงแก้ปัญหานี้โดยใช้นโยบายดุลยภาพ คือ การตัดทอนรายจ่ายที่ไม่จำเป็น จัดงานและคนให้สมดุลกันแบะยุบตำแหน่งราชการที่ซ้ำซ้อนกัน ในการบริหารราชการส่วนกลาง เดิมสมัยรัชกาลที่ 6 มีกระทรวง 12 กระทรวง (โดยเพิ่ม 2 กระทรวง จาก 10 กระทรวงในสมัยรัชกาลที่ 5 คือ กระทรวงทหารเรือ และกระทรวงพาณิชย์) คือ กระทรวงมหาดไทย กระทรวงกลาโหม กระทรวงทหารเรือ กระทรวงต่างประเทศ กระทรวงวัง กระทรวงเมือง(นครบาล) กระทรวงเกษตราธิการ กระทรวงพระคลังมหาสมบัติ กระทรวงยุติธรรม กระทรวงธรรมการ กระทรวงโยธาธิการ กระทรวงพาณิชย์
รัชกาลที่ 7 โปรดเกล้าฯ ให้มีการแก้ไขปรับปรุงโดยยุบกระทรวงทหารเรือไปรวมกับกระทรวงกลาโหม และรวมกระทรวงโยธาธิการกับกระทรวงพาณิชย์เข้าด้วยกัน จึงเหลือเพียง 10 กระทรวง
2) การปกครองส่วนภูมิภาค ด้วยเหตุผลทางด้านเศรษฐกิจเช่นเดียวกับการปกครองส่วนกลาง รัชกาลที่ 7 ทรงใช้นโยบายดุลยภาพโดยยุบเลิกตำแหน่งปลัดมณฑล ตำแหน่งอุปราชประจำภาค ยุบเลิกมณฑลบางมณฑล บางจังหวัดให้ลดฐานะเป็นอำเภอตามความเหมาะสมของแต่ละท้องถิ่น เช่น ยุบจังหวัดพระประแดง หลังสวน มีนบุรี สายบุรี ธัญบุรี ตะกั่วป่า หล่มสัก และรวมสุโขทัยเข้ากับสวรรคโลก
ในสมัยรัชกาลที่ 7 ได้ทรงเริ่มทดลองการปกครองแบบเทศบาล เพื่อให้ราษฎรได้เรียนรู้การปกครองตนเอง ทรงตราพระราชบัญญัติการจัดบำรุงสถานที่ชายทะเลทิศตะวันตก เมื่อ พ.ศ.2469 โดยจัดตั้งสภาจัดบำรุงสถานที่ชายทะเลตะวันตก มีอาณาเขตตั้งแต่ตำบลชะอำไปถึงหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ การปกครองแบบเทศบาลนี้มีผลดี คือ เป็นการฝึกหัดให้ประชาชนเกิดความชำนาญในการปกครองตนเอง อันเป็นการปูพื้นฐานไปสู่การปกครองระบอบประชาธิปไตยในอนาคต
1.3 การเตรียมพระราชทานรัฐธรรมนูญ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชดำริที่จะให้ประเทศไทยมีการปกครองระบอบประชาธิปไตย ดังจะเห็นได้จากการพระราชทานสัมภาษณ์แก่นักหนังสือพิมพ์ใน พ.ศ.2474 เมื่อคราวเสด็จพระราชดำเนินไปประเทศสหรัฐอเมริกา เมื่อพระองค์เสด็จนิวัติพระนคร ก็ทรงมอบหมายให้พระยาศรีวิศาลวาจา และนายเรมอนด์ สตีเวนส์ ที่ปรึกษากระทรวงการต่างประเทศพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญ แต่ที่ประชุมอภิรัฐมนตรีสภาและพระบรมวงศานุวงศ์บางพระองค์ได้กราบทูลคัดค้านว่า ยังไม่ถึงเวลาอันควรที่จะพระราชทานรัฐธรรมนูญ เพราะราษฎรยังไม่มีความเข้าใจระบอบประชาธิปไตยดีพอ รัชกาลที่ 7 จึงทรงต้องเลื่อนการพระราชทานรัฐธรรมนูญออกไป จนกระทั่งเกิดการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นระบอบประชาธิปไตยในวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น